รังนกที่ต้นมะยมหลังบ้านที่ กทม. ครับ


มะยม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Phyllanthus acidus)
ภาคอีสานเรียกว่า หมากยม ภาคใต้เรียกว่า ยม เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3 – 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล แตกกิ่งที่ปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย ใบประกอบ มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20 – 30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ ติดผลเป็นพวง ผลมีสามพูชัดเจน เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด มีทั้งพันธุ์เปรี้ยวและพันธุ์หวาน ซึ่งมีรสหวานอมฝาด ผลจะอ่อนนุ่มเมื่อสุก จึงเก็บเกี่ยวก่อนผลจะหล่นจากต้น

การใช้ประโยชน์
มะยมใช้รับประทานเป็นผลไม้สดและแปรรูป เช่น แช่อิ่ม ดอง น้ำมะยม แยม หรือกวน ใช้ทำส้มตำ ยอดอ่อนรับประทานเป็นผักสด กินกับน้ำพริก ลาบ ส้มตำ ขนมจีน ในฟิลิปปินส์ใช้ทำน้ำส้มสายชู หรือกินดิบหรือดองในเกลือและน้ำส้มสายชู ในมาเลเซียนิยมนำไปเชื่อม ในอินเดียและอินโดนีเซียนิยมนำใบมะยมไปประกอบอาหาร

ผลมะยมมีฤทธิ์กัดเสมหะและเป็นยาระบาย ใบเป็นส่วนประกอบของยาเขียว ตำราไทยใช้ รากแก้ไข รักษาโรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย ผื่นคัน ใบ ต้มน้ำอาบแก้คัน แก้ไข้ เหือด หิด อีสุกอีใส ในผลมีแทนนิน เดกซ์โทรส เลวูโลส ซูโครส วิตามินซี ในรากมี beta-amyrin, phyllanthol, แทนนิน ซาโปนิน กรดแกลลิก สารสกัดจากมะยมที่สกัดด้วยเอทานอลมีประสิทธิภาพดีทในการยับยั้งการเจริญของ E. coli O157:H7 และ Propionibacterium acnes

ภาพโดย : HaMAO Sunny
บทความโดย :