สู้ชีวิต มดแดงทำรัง


มดแดง 
เป็นแมลงในอันดับ Hymenoptera  ในกลุ่มเดียวกับ ผึ้ง ต่อ และ แตน การเจริญเติบโต จะผ่านการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบสมบูรณ์ มีวงจรชีวิต 4 ระยะ คือ  ไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย   มดแดงส้ม จัดอยู่ในวงศ์ย่อย    Formicinae    สกุล   Oecophylla     ลักษณะเด่นของมดชนิดนี้  คือ  ส่วนเอวมี 1 ปล้อง  ส่วนของกราม ( mandible ) มีฟัน 10 ซี่  หนวดมีปล้องจำนวน 12 ปล้อง ส่วนท้องยกขึ้นเหนือส่วนอก ทั่วโลกพบมดในสกุล  Oecophylla    13  ชนิด ในประเทศไทยมีเพียงหนึ่งชนิด คือ  Oecophylla smaragdina   และมีชื่อสามัญว่า Weaver ants หรือ Green ants   ลักษณะเด่นของมดชนิดนี้ คือ มีขนาดใหญ่ และทำรังบนต้นไม้ แต่มีการสำรวจพบการทำรังในบ้านเรือนด้วยเช่นกัน   มดแดงส้มมีพฤติกรรมการสร้างรังที่เป็นเอกลักษณ์ คือ มดจะต่อตัวโดยมดงานและใช้กรามคาบส่วนประกอบของร่างกายมดภายในรังด้วยกัน เพื่อดึงใบไม้มาชิดติดกัน และเชื่อมขอบใบไม้ภายในและภายนอกด้วยสารจากส่วนท้องของตัวอ่อนมด มาถักทอรังให้เชื่อมคิดกัน ลักษณะของใย  มีลักษณะคล้ายใยแมงมุม มดแดงส้ม เป็นสัตว์กินเนื้อ และอาจเสริมด้วยน้ำหวานจาก เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น และผีเสื้อบางชนิด มดแดงส้มมีวรรณะภายในรังเช่นเดียวกับมดชนิดอื่นๆ คือ มี 3 วรรณะ คือ นางพญา  ( Queen )  ราชา ( King )  และ มดงาน  ( Workers )  มดงานยังแบ่งการทำหน้าที่แตกต่างกันตามขนาดที่ต่างกัน เช่น มดงานขนาดเล็ก มีหน้าที่ดูแลตัวอ่อนและไข่ มดงานขนาดย่อมมีหน้าที่ดูแลซ่อมแซมรังและหาอาหาร ส่วนมดแดงส้มขนาดใหญ่มีหน้าที่ หาอาหารและปกป้องรังจากผู้รุกราน  มดแดงส้มไม่มีเหล็กในเพื่อปกป้องจากศัตรู แต่พวกมันใช้วิธีกัดและฉีดสารที่มีคุณสมบัติเป็นกรด ที่ชื่อ Formic acid มดจะฉีดสารนี้เพื่อขับไล่ศัตรู หรือฉีดเข้าใส่บาดแผลของศัตรูทำให้เกิดอาการระคายเคืองและแสบสารนี้นอกจากมีค่าความเป็นกรดแล้วยังมีกลิ่นฉุน  ทำให้ศัตรูร่นถอย

บทความโดย : อาหารภาคอีสาน
ภาพโดย : HaMAO Sunny