กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย และยังเป็นจังหวัดในภาคกลางอีกด้วย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลกอีกด้วย ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี โดยกรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตารางกิโลเมตร มีประชากรตามทะเบียนราษฎรกว่าห้าล้านคน ทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเอกนคร (primate city) จัด และศูนย์ชุมชนอื่นของประเทศไทยด้อยความสำคัญลง มีผู้กล่าวว่า กรุงเทพมหานครเป็น "เอกนครที่สุดในโลก" เพราะมีประชากรมากกว่านครที่มีประชากรมากเป็นอันดับสองถึงสี่สิบเท่า[6] มหาวิทยาลัยลัฟเบอระ (Loughborough University) จัดกรุงเทพมหานครว่าเป็นนครโลกระดับแอลฟาลบ[7] กรุงเทพมหานครมีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น พระบรมมหาราชวัง พระที่นั่งวิมานเมฆและวัดต่าง ๆ ซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 10 ล้านคนในแต่ละปี นับเป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศมากที่สุดในโลกซึ่งได้ชนะกรุงลอนดอนอดีตแชมป์ปี 2012 ได้สำเร็จ[8] กรุงเทพมหานครเป็นเขตปกครองพิเศษของประเทศไทย มิได้มีสถานะเป็นจังหวัด คำว่า กรุงเทพมหานคร นั้นยังใช้เรียกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของกรุงเทพมหานครอีกด้วย ปัจจุบัน กรุงเทพมหานครเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง ในสมัยอาณาจักรอยุธยา กรุงเทพมหานครยังเป็นเพียงสถานีการค้าขนาดเล็กอยู่ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมา มีขนาดเพิ่มขึ้นและเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงสองแห่ง คือ กรุงธนบุรีในปี พ.ศ. 2311 และกรุงรัตนโกสินทร์ใน พ.ศ. 2325 กรุงเทพมหานครเป็นหัวใจของการทำให้ประเทศสยามทันสมัย และเป็นเวทีกลางของการต่อสู้ทางการเมืองของประเทศตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 20 นครเติบโตอย่างรวดเร็วและปัจจุบันมีผลกระทบสำคัญต่อการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา สื่อและสังคมสมัยใหม่ของไทย ในช่วงที่การลงทุนในเอเชียรุ่งเรือง ทำให้บรรษัทข้ามชาติจำนวนมากเข้ามาตั้งสำนักงานใหญ่ภูมิภาคในกรุงเทพมหานคร ทำให้กรุงเทพมหานครเป็นกำลังหลักทางการเงินและธุรกิจในภูมิภาค นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางการขนส่งและสาธารณสุขระหว่างประเทศ และกำลังเติบโตเป็นศูนย์กลางศิลปะ แฟชันและการบันเทิงในภูมิภาค อย่างไรก็ดี การเติบโตอย่างรวดเร็วของกรุงเทพมหานครขาดการวางผังเมือง ทำให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงพอ ถนนที่จำกัดและการใช้รถส่วนบุคคลอย่างกว้างขวางส่งผลให้เกิดปัญหาจราจรแออัดเรื้อรัง
ภาพโดย : HaMAO Sunny
บทความโดย :
|
• ทำถนนเข้าบ้านครับ (สิงหาคม ๒๕๕๗) • ดอกไม้สวยๆ ครับ (๒๔ กันยายน ๒๕๕๕) • ทางเดินเข้าบ้านครับ (๑๔ กันยายน ๒๕๕๕) • ดอกผักตบไทย กรุงเทพมหานคร (๑๔ กันยายน ๒๕๕๕) • ต้นโป๊ยเซียน สูงๆครับ กรุงเทพมหานคร (๑๐ มีนาคม ๒๕๕๕) • ต้นตะลิงปลิง ครับผม กรุงเทพมหานคร (๑๐ มีนาคม ๒๕๕๕) • พาร่ำรวย หลังฝนสวยดีครับ กรุงเทพมหานคร (๑๐ มีนาคม ๒๕๕๕) • สดชื่นครับผม (๑๐ มีนาคม ๒๕๕๕) • ดอกไม้ในซอยพงษ์เพชรนิเวศน์ (๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔) • น้ำท่วมครั้งใหญ่ประเทศไทย กรุงเทพมหานคร (๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔) ท้องถนนหลังน้ำลด (๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๔) • ดอกไม้สวยๆ ครับ (๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓) • ผีเสื้อกลางคืน กรุงเทพมหานคร (๑๘ กันยายน ๒๕๕๔) • หลังฝน บ้านเพื่อนมุ (๑๘ กันยายน ๒๕๕๑) • หมอกลงตอนเช้าๆ ที่สื่อสาร ทอ. ดอนเมือง (๒๑ มกราคม ๒๕๕๑) ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร • รังนกที่ต้นมะยมหลังบ้านที่ กรุงเทพมหานคร ครับ • หอยทากตัวใหญ่ กรุงเทพมหานคร • โฮย่าใบหัวใจ กรุงเทพมหานคร • คุณทำอะไรกับ “สนามหลวง” ทำไมเราต้องมาเดินกันบนถนน • อัลบั้มภาพ ดอกไม้ที่ปลูกในบ้านที่กรุงเทพมหานครครับ |
อีกหนึ่งก้าวเล็กๆ ของคนที่มีความมุ่งมั่นและไม่เคยคิดที่จะยอมแพ้ | เพราะประสบการณ์มีไว้เพื่อแบ่งปัน