การออม และ การลงทุน : ความเหมือนที่แตกต่าง

“การออม” กับ “การลงทุน” นั้นแม้จะมีวัตถุประสงค์เดียวกันคือเพื่อสร้างโอกาสให้มีเงินเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ต่างกันตรงที่ “การออม” เป็นการเก็บสะสมเงินทีละเล็กทีละน้อยให้พอกพูนขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ในขณะที่ “การลงทุน” คือการนำเงินไปสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้น
การออม
การลงทุน
วัตถุประสงค์ ความต้องการระยะสั้น หรือเพื่อไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน ให้มีมูลค่าเพิ่มในระยะยาว
วิธี เงินฝากธนาคาร พันธบัตร, หุ้น, กองทุนรวม
ความเสี่ยง ไม่มีความเสี่ยง (ตราบใดที่รัฐบาลยัง รับประกันเงินฝาก) แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับหลักทรัพย์นั้นๆ
ที่มาของผลตอบแทน ดอกเบี้ย ดอกเบี้ย และ / หรือ ผลกำไร - ขาดทุน
จุดเด่น ปลอดภัย และ มีสภาพคล่องสูง ได้รับผลตอบแทนในระยะยาวสูงกว่าเงินเฟ้อ
จุดด้อย ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยเงินฝากมักต่ำกว่าเงินเฟ้อ มีโอกาสขาดทุน หากมูลค่าราคาตลาดของ พันธบัตร หรือหลักทรัพย์ลดลง
การออมเงินที่คนทั่วไปนิยมคือการฝากธนาคารเพราะคิดว่าปลอดภัย ไร้ความเสี่ยง แถมยังได้รับผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอในรูปดอกเบี้ย แต่การฝากเงินอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ปลอดภัยที่สุดหากรัฐบาลยกเลิกการประกันเงินฝาก และการฝากเงินอาจไม่ส่งผลดีในระยะยาวเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อทำให้ข้าวของแพงขึ้น ยกตัวอย่างเช่น หากได้รับผลตอบแทนจากการฝากเงินประมาณ 3% ต่อปี ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อในปีนั้นเท่ากับ 1.7% แปลว่า ผลตอบแทนที่ได้รับจริงจะเท่ากับ 1.3% ต่อปี และที่แย่ไปกว่านั้นคือ เงินอาจไม่เพิ่มขึ้นเลย กลายเป็นเพียงการรักษาให้เงินลงทุนให้มีมูลค่าเท่ากับหรือใกล้เคียงกับวันที่เริ่มต้นลงทุนเท่านั้นเอง
ดังนั้นแทนที่จะ ออมเพียงอย่างเดียว อาจ เพิ่มผลตอบแทนโดยรวม ให้สูงขึ้นได้ ด้วยการนำเงินไป “ลงทุน” ใน พันธบัตรหรือหลักทรัพย์ โดยอาจลงทุนเองโดยตรงหรือลงทุนผ่านกองทุนรวม แน่นอนนั่นย่อมหมายถึงความเสี่ยงที่สูงขึ้น ซึ่งสัดส่วนการนำเงินออมมาลงทุนในตราสารขึ้นอยู่กับความสามารถในการยอมรับ ความเสี่ยงของแต่ละบุคคล ในขณะเดียวกันผู้ลงทุนก็ต้องทำความเข้าใจถึงข้อดีข้อเสีย ผลตอบแทนและความเสี่ยงของสินทรัพย์ในการลงทุนแต่ละประเภทด้วย
กล่าวโดยสรุปได้ว่า หลักในการวางแผนทางการเงินเพื่อชีวิตที่สุขสบายอันดับแรกก็คือ “ใช้” ให้น้อยกว่าที่ “หามาได้” รวมถึง “เลื่อน” การใช้จ่ายที่สำคัญ “น้อยกว่า” ออกไปเพื่อให้มีเงินเหลือและจัดสรรนำเงินบางส่วนไป “ทำงาน” ให้เกิดดอกผลงอกเงย นั่นเอง
หน้าหลัก