ข้าวหอมมะลิ (อังกฤษ: Thai jasmine rice) เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย มีลักษณะกลิ่นหอมคล้ายใบเตย เป็นพันธุ์ข้าวที่ทำให้ข้าวไทยเป็นสินค้าส่งออกที่รู้จักไปทั่วโลก
ข้าวหอมมะลิ เรียกอีกอย่างว่าข้าวเสวย เมื่อปี พ.ศ. 2497 นายทรัพธนา เหมพิจิตร ผู้จัดการบริษัทการส่งออกข้าว จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รวบรวมพันธุ์ข้าวหอมในเขตอำเภอบางคล้า ได้จำนวน 199 รวง แล้ว ดร.ครุย บุณยสิงห์ (ผู้อำนวยการกองบำรุงพันธุ์ข้าวในขณะนั้น) ได้ส่งไปปลูกคัดพันธุ์บริสุทธิ์และเปรียบเทียบพันธุ์ที่ สถานีทดลองข้าวโคกสำโรง (ขณะนี้เป็นสถานีข้าวลพบุรี) ดำเนินการคัดพันธุ์โดยนักวิชาการเกษตรชื่อนายมังกร จูมทอง ภายใต้การดูแลของนายโอภาส พลศิลป์ หัวหน้าสถานีทดลองข้าวโคกสำโรง
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2502 ได้พันธุ์บริสุทธิ์ข้าวขาวดอกมะลิ 4-2-105 และคณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ข้าวได้อนุมัติให้เป็นพันธุ์ส่งเสริมแก่เกษตรกร เมื่อ วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 โดยเกษตรกรทั่วไปเรียกว่า [ขาวดอกมะลิ 105] ต่อมาได้มีการปรับปรุงพันธุ์ข้าว [ขาวดอกมะลิ 105] จนได้ข้าวพันธุ์ [กข 15] ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ประกาศให้ ข้าวทั้ง 2 พันธุ์เป็นข้าวหอมมะลิไทย
ต้นกำเนิดหอมมะลิ ข้าวเป็นอาหารหลักของพลโลกมานานนับพันปี บางภูมิภาคนำข้าวไปแปรรูปเป็นแป้งเพื่อปรุงแต่งเป็นอาหาร แต่สำหรับภูมิภาคเอเชียเราบริโภคข้าวในรูปลักษณ์ดั้งเดิมและเรามีข้าวหลากหลายพันธุ์ให้เลือก แต่สำหรับประเทศไทยแล้วข้าวหอมมะลิ ถือว่าเป็นสุดยอดของข้าวและกำลังเป็นที่ต้องการของผู้นิยมบริโภคข้าวทั่วโลกในชื่อ Jasmine Rice หากย้อนไปในอดีตยังไม่มีใครรู้จักข้าวหอมมะลิ เรารู้จักแต่ข้าวขาวดอกมะลิ ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์เบาเป็นข้าวพื้นเมืองที่พบและรู้จักกันในอ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา ด้วยคุณลักษณะอันโดดเด่นยามหุง กลิ่นจะหอมชวนให้รับประทานไม่เหมือนพันธุ์ข้าวใดในโลก ผู้ที่ค้นพบและทำให้ข้าวขาวดอกมะลิเป็นที่รู้จักของโลกคือ ดร.สุนทร สีหะเนิน
ข้าวหอมมะลิ ชอบ ดินปนทราย พื้นที่เป็นนาดอน ใช้น้ำฝนในการเพาะเลี้ยงนาที่ไหนเป็นอย่างนี้ จะได้ผลผลิตดีที่สุด เมล็ดข้าวจะยาว เรียว บิดนิดๆ ขาว ใส พอแกะออกมาเป็นข้าวกล้อง จะเป็นสีขาว ใส ที่สำคัญคือที่เมล็ดไม่มีท้องไข่ มีจมูกข้าวเล็ก แต่นาที่ไหนใช้การเพาะเลี้ยงแบบวิดน้ำ ก็จะได้แค่ ข้าวหอมปทุม ข้าวหอมเหลือง
ภาพโดย : HaMAO Sunny จังหวัดอุบลราชธานี (๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๗)
บทความโดย :