ปรางค์กู่ จังหวัดชัยภูมิ

ปรางค์กู่  (๒ ธันวาคม ๒๕๕๒) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ
พระปรางค์กู่ 
เป็นโบราณสถาน ตั้งอยู่ที่ ถนนบรรณาการ บ้านหนองบัว ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ มีฐานสี่เหลี่ยม สร้างด้วยศิลาแลง วางซ้อนกันจากฐานถึงยอด ภายในบรรจุพระพุทธรูปดินเผา เชื่อกันว่าเป็นอโรยาศาล (โรงพยาบาล) ในสมัยก่อน

ประวัติพระปรางค์กู่ 
พระปรางค์กู่ ถูกสร้างโดย "พระไภษชัยคุรุไวฑูรย์ประภา" เมื่อ พ.ศ. 1724 - พ.ศ. 1763 หรือพุทธศตวรรษที่ 18 ในสมัยเจนละ ขณะที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ครองราชย์ โดยสร้างเป็นปรางค์ศิลาแลงทั้งหลัง มีประตูเข้าทางทิศตะวันออก มีกำแพงรูปสี่เหลี่ยม ล้อมรอบ ภายในพระปรางค์กู่ มีพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่นประดิษฐานอยู่ มีเศียรเทวดาอิทธิพล ศิลปะขอมทับหลังที่กรอบประตูสลักเป็นรูปไตรรัตนมหายาน มีความหมายถึง พระพุทธเจ้า ทรงมีความรู้การแพทย์ ทำให้ประชาชนมีความสุขและไม่มีโรค

เป็นสถาปัตยกรรมอีกชิ้นหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลจากขอม คำว่าปรางค์กู่นั้น เป็นชื่อเรียกของกลุ่มอาคารที่มีแผนผังและลักษณะแบบเดียวกันกับอาคารที่ เชื่อกันว่าเป็นอโรคยาศาลที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ระหว่าง พ.ศ. 1724-1763

ปรางค์กู่ เป็นอโรคยาศาลสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีข้อความว่าให้อยู่ใต้พระบารมีของพระพุทธเจ้า ผู้ทรงการแพทย์คือ พระไภษัชยคุรุไวทูรยประภา ผู้ประทานความสุขเกษมและความไม่มีโรคให้แก่ประชาชน ปัจจุบันเป็นโบราณสถานที่สำคัญและมีสภาพสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยภูมิ และยังเป็นที่เคารพของคนในจังหวัดชัยภูมิเป็นอย่างสูงอีกด้วย

ลักษณะทั่วไป
ปรางค์กู่เป็นโบราณสถานอีกแห่งหนึ่ง ที่มีแผนผังและลักษณะเหมือนกับโบราณสถานที่ได้พบหลักฐานว่าเป็นอโรคยาศาล ที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 ก็คือ มีองค์ประธานอยู่ตรงกลาง 1 องค์ บรรณาลัยด้านหน้า 1 หลัง ล้อมด้วยกำแพงซึ่งมีโคปุระเฉพาะด้านหน้าทั้งหมด ก่อด้วยอิฐศิลาแลงยกเว้นกรอบประตูหน้าต่าง ทับหลัง เสาประดับล้วนเป็นหินทราย หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปรางค์มีสระน้ำ 1 สระ ยังคงสภาพสมบูรณ โดยเฉพาะองค์ประธานซึ่งมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 5 เมตร ย่อมุมไม้สิบสอง ด้านหน้ามีประตูทำเป็นมุขยื่นออกมา ผนังปรางค์อีก 3 ด้านเป็นประตูหลอก จำหลักภาพตรงกลางเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ ซึ่งจับท่อนพวงมาลัยไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง ด้านข้างทางซ้ายและขวาจำหลักรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร กับรูปนางปรัชญาปารมิตา ด้านหน้ามีทับหลังเช่นกัน สันนิษฐานว่าสลักเป็นภาพเดียวกัน แต่ปัจจุบันลบเลือนมาก ที่ช่องประตูหลอกด้านทิศเหนือยังมีพระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ศิลปะแบบทวาราวดี ขนาดสูง 1.75 เมตร หน้าตักกว้าง 7.5 เมตร ประดิษฐานอยู่ 1 องค์ ซึ่งเป็นของที่เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น

ส่วนประกอบต่างๆ ของโบราณสถาน
1.ซุ้มโคปุระ คือ ที่อยู่ของพาหนะของเทพเจ้าที่รักษาพระองค์ มีเทพประจำ 8 ทิศ
2.ปรางค์ประธาน มีพระพุทธรูปปางสมาธิอยู่ด้านใน มีเศียรที่ทำการสร้างขึ้นมาใหม่
3.บรรณาลัย เป็นที่เก็บยาอยู่ขวามือของโบราณสถาน มีแท่นรูปเคารพ (แท่นโยนี) อยู่ข้างใน
4.กำแพงล้อมปรางค์และประตูซุ้มทางเข้า-ออก
5.บ่อน้ำ

หลักฐานที่พบ
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปรางค์มีสระน้ำ 1 สระ ยังคงมีสภาพสมบูรณ์ดีเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะองค์ประธานซึ่งมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ขนาด 5 เมตร ย่อมุมไม้สิบสองด้านหน้ามีประตูทำเป็นมุขยื่นออกมา ผนังปรางค์มี 3 ด้าน เป็นประตูหลอก จำหลักภาพตรงกลางเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเหนือกาล ซึ่อถือพวงมาลัยไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง ด้านข้างทางซ้ายและขวาจำหลักรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร กับรูปนางปรัชญาปารมิตาด้านหน้ามีทับหลังเช่นกัน สันนิษฐานว่าสลักเป็นภาพเดียวกัน แต่ปัจจุบันลบเลือนไปมากที่ช่องประตูหลอกด้านทิศเหนือยังมีพระพุทธรูปศิลา ศิลปะแบบทวาราวดี ขนาดสูง 1.75 เมตร หน้าตักกว้าง 7.5 เมตร ประดิษฐานอยู่ 1 องค์ ซึ่งเป็นของที่เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น

ภาพสลักที่สำคัญของโบราณสถาน
1.ภาพพระโพธิสัตว์อวโรกิเตศวร 4 กร
2.ปรางค์ประธานจะมีหน้ากาล ด้านบนสลักภาพพระพุทธรูปปรางค์สมาธิ
3.ทัพหลังมุขด้านทิศเหนือของปราสาทประธาน สันนิษฐานว่าเป็นภาพพระรัตนไตรมหายาน
4.ภาพพุทธประวัติตอนเจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จออกมามหาภิเนษกรมณ์ที่หน้าบันด้านทิศตะวันตกของบรรณาลัย

งานประจำปี
จะจัดขึ้นเมื่อตรงกับ ขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี โดยบริเวณที่จัดอยู่ ณ ลานกว้างรอบๆ องค์พระธาตุปรางค์กู่ ในงานจะมีทั้งมหรสพ แสง สี เสียง เครื่องเล่นต่างๆ เป็นต้น

ภาพโดย : HaMAO Sunny
บทความโดย :


อัลบั้มภาพ ปรางค์กู่  (๒ ธันวาคม ๒๕๕๒)

แผนที่การเดินทางไป ปรางค์กู่ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ